ข่าวการศึกษา

บทความการศึกษา

ข่าวเรียกบรรจุครูผู้ช่วย

ข่าวสอบพนักงานราชการ

ข่าวสอบครูอัตราจ้าง

สอบธุรการ

สภาการศึกษา กลับมาแล้ว

เลาะเลียบคลองผดุง
เลาะเลียบคลองผดุงฯ
ตุลย์ ณ ราชดำเนิน tulacom@gmail.com

 
ขอต้อนรับการกลับมาทำหน้าที่ของสภาการศึกษาในฐานะองค์กรหลัก 1 ใน 5 ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีหน้าที่พัฒนานโยบาย พัฒนาแผน พัฒนามาตรฐานการศึกษาของชาติ ด้านการวิจัยและประเมินผลการศึกษา เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ

หลังจาก สภาการศึกษาเสียเวลาไปกับงานไม่ใช่หน้าที่เสียเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากผู้บริหารสูงสุดขององค์กรในช่วงที่ผ่านมาละเลยไม่ให้ความสำคัญ จึงทำให้การศึกษาลอยล่องไปตามใจนึกชอบของนักการเมืองแต่ละคนที่ถูกมอบหมาย ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนให้เข้ามาดูแลในช่วงสั้นๆ

จะเห็นชัด ว่า เมื่อองค์กรหลักอย่างสภาการศึกษาไม่ทำหน้าที่พัฒนาฯ ในเรื่องดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่อาจนำไปสู่การปฏิบัติ จึงไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางดี นอกจากต่ำลง

เชื่อ ว่าสังคมคงมีความหวังเมื่อทราบว่าสภาการศึกษา กำลังจะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการยุทธศาสตร์การศึกษา (พ.ศ.2556-2558) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของประเทศไทย ตามนโยบายรัฐบาลขึ้นที่ภาคเหนือ 31 มกราคมนี้ ที่เชียงใหม่ แยกห้องประชุมเสวนาในหัวข้อต่างๆ อาทิ

การสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาเพื่อสร้างทุนปัญญาของชาติ โดย นายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการสภาวิจัยแห่งชาติ และสถิติและตัวชี้วัดเพื่อการวางแผนและจัดทำยุทธศาสตร์การศึกษา (พ.ศ.2556-2558) โดย นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ

การปฏิรูปครูโดยยกฐานะ วิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง โดย ดร.ดิเรก พรสีมา กรรมการพัฒนาระบบการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ส่วน ประธานอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านต่างๆ ก็มากันครบ ไม่ว่าจะเป็น นางพรนิภา ลิมปพยอม จะมาว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพ สร้างโอกาส และกระจายโอกาสทางการศึกษาและ นายมินทร์ อิงค์ธเนศ ว่าด้วยพัฒนาการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ใน เรื่องการเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรี ประชาคมอาเซียน โดย ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านการจัดการศึกษาเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

การมอบนโยบายและรับฟังผลฯ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


ที่มา :
ข่าวสด

ระบุกลไกราชการ ศธ.ดื้อเงียบ เน้นแก้ข่าว-ไม่เน้นแก้ไข

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
             จุฬาฯ เสวนาปัญหาการศึกษาไทย สะท้อนกับดักปัญหาการคุมคุณภาพและจำนวนครู พร้อมระบุกลไกราชการภายใน ไม่ยอมรับรู้ปัญหาจริง และไม่แก้ไข แต่เน้นแก้ข่าว พร้อมชี้ช่องเตรียมพร้อมสู่อาเซียนต้องดูแลโรงเรียนตามตะเข็บชายแดน   

             จากการเสวนา นโยบายและทิศทางการพัฒนาระบบการศึกษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ในการแก้ปัญหาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ผ่านมานั้น เหมือนจะมาถูกทางแต่ก็พบกับดักทางการศึกษา คือ 1.การควบคุมคุณภาพการศึกษา โดยกำหนดให้ครูทุกคนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และทำผลงานเพื่อขอวิทยฐานะ ซึ่งดูเหมือนจะมาถูกทางแต่มีกับดักคือ ทำให้ครูทำแต่ผลงานวิชาการ และทิ้งห้องเรียน ส่วนการมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ก็ไม่ได้ทำให้ครูมีคุณภาพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะครูรุ่นเก่าจำนวน 3 แสนคนที่อยู่ในระบบการศึกษาขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นครูประจำการที่ได้รับใบอนุญาตฯ ทันที ขณะที่การผลิตครูใหม่ 5 ปี ก่อนได้รับใบอนุญาตฯ นั้น ขณะนี้ผลิตได้เพียง 20,000 คน ที่เป็นเลือดใหม่ ซึ่งสัดส่วนตรงนี้ต่างกันมาก ที่สำคัญเมื่อผลิตครูรุ่นใหม่ออกมาก็เจอกับปัญหาโรงเรียนใช้ไม่ตรงสาขาที่จบ เอกมาจึงกลายเป็นปัญหาด้านคุณภาพอีกเช่นกัน 2.เรื่องการกระจายอำนาจของ ศธ. ปัจจุบันในเขตพื้นที่จะมีคณะกรรมการ 2 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการเขตพื้นที่ และ คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. ซึ่งการจัดสรรอำนาจไม่สอดคล้องกับการทำงานจริง คือ อ.ก.ค.ศ.มีอำนาจในการโยกย้ายครู โดยที่ ผอ.เขตพื้นที่มีหน้าที่เหมือนตรายาง ทั้งนี้ตนจึงเสนอว่า ต้องกระจายอำนาจให้คณะบุคคล ไม่ใช่บุคคลคนใดคนหนึ่ง และควรยุบกรรมการทั้ง 2 ชุดให้เหลือเพียงชุดเดียว และ3. ศธ.ควรปรับปรุงการขอคืนอัตราเกษียรให้มีการเสนอขอคืนอัตราล่วงหน้าก่อนสิ้น ปีเกษียร เพื่อแก้ปัญหาขาดครูในโรงเรียน

            "ที่ผ่านมา ศธ.เสนอขอคืนอัตราเกษียร หลังจากวันที่ 30 ก.ย.ของทุกปี และขั้นตอนการคืนอัตราเกษียร ก็ล่าช้า ทำให้โรงเรียนขาดครูที่จะมาทดแทน ที่สำคัญ ศธ.เล่นการเมืองมากไป มุ่งจะขออัตราคืนในช่วงเวลาใกล้เปิดเทอม เพื่อเป็นการบีบให้รัฐบาลเร่งคืนอัตรา ทั้งที่ก็รู้อยู่แล้วว่า ในแต่ละปีมีครูเกษียรกี่คน ดังนั้นควรวางแผนการขอคืนอัตราเกษียรตั้งแต่เดือน พ.ค. ของทุกปี เมื่อครูเกษียรก็จะมีครูใหม่เข้ามาทำงานแทนได้ทันที" ศ.ดร.พฤทธิ์ กล่าว
            รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ตนขอฝากประเด็นให้รมว.ศธ. เร่งดำเนินการ ดังนี้ 1.การปฎิรูปโครงสร้าง ให้เน้นห้องเรียนและเด็กเป็นหลัก โดยมองว่าโครงสร้างที่ปรับเปลี่ยนจะลงไปสู่เรื่องการเรียนการสอนในห้องเรียน ได้อย่างไร  2.ลดภาระงานทำเอกสารของครู ลดงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ตอนนี้มี 10 กระทรวงที่สั่งให้ครูทำงาน ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ทั้งที่ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง แต่กลับไม่มีสิทธิ์ปฎิเสธงานที่ไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง พร้อมกันนี้ควรกำหนดหลักสูตรใหม่ เน้นการเรียนจากเนื้อหา ร้อยละ 60 และเน้นทำกิจกรรมร้อยละ 40 โดยอาจมอบหมายให้ทางคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้ดำเนินการออกแบบหลักสูตร ทั้งนี้เพื่อให้เด็กได้มีพื้นที่การแสดงออก ทำให้เด็กมีทั้งความฉลาดทางสมอง(ไอคิว)และความฉลาดทางอารมณ์(อีคิว) 3.เสนอ ให้มีการสับโขกระบบกลไกลราชการ เพราะขณะนี้กลไกราชการ ศธ.มีการต่อต้านเงียบๆ แก่ผู้บังคับบัญชา ด้วยการไม่ปฎิบัติตามสิ่งที่รัฐบาลกำหนด แต่เมื่อเกิดปัญหาทางการศึกษา ระบบกลไกราชการจะใช้วิธีแก้ข่าว แต่ไม่ได้คิดแก้ไขหรือปฎิรูปหรือเปลี่ยนแปลงอะไร ยังคงดำเนินการตามนโยบายของตนเอง ทั้งนี้หากข้าราชการฝ่ายการเมืองไม่มีความจริงจัง คือไม่กำหนดชัดเจนว่าหากทำไม่ได้ต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้าง ปัญหาก็จะไม่มีการแก้ไข
            รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวต่อไปว่า 4.เรื่องโครงการตำราแห่งชาติ เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะถ้าไม่ทำจะเกิดโครงการตำราผี ยัดเยียดตำราที่ด้อยคุณภาพให้แก่ผู้บริหาร แล้วกินค่าคอมมิสชั่น ร้อยละ 30-40 เวลานี้โรงเรียนเอกชนหลายแห่งทำแบบนี้ ดังนั้นรัฐบาลต้องเร่งแก้ด้วยการนำโครงการตำราแห่งชาติ ควบคู่กับการผลิตหลักสูตรการเรียนรู้ผ่านแท็บแล็ต โดยต้องดำเนินการไปพร้อมกัน พร้อมกันนี้ต้องยกระดับผู้ตรวจราชการ ศธ.ให้รายงานผลตามความเป็นจริง จากเดิมที่การรายงานสถานการณ์จะรับเฉพาะเรื่องดีๆ อะไรไม่ดีห้ามรายงาน ทำให้ข้อบกพร่องต่างๆ ในระบบการศึกษาไม่เคยถึงหูนักการเมือง รมว.ศึกษาธิการ ทำให้นักการเมือง ไม่รู้สึกเลยว่าการศึกษาไทยแย่  จากนั้นเมื่อมีผลประเมินผลการศึกษาออกมาไม่ดี ข้าราชการก็ใช้วิธีแก้ข่าว แต่ไม่ได้แก้ที่โครงสร้างทางวิชาการ
            “นอกจากนี้สิ่งที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญ คือ การพัฒนาคุณภาพของเด็กในต่างจังหวัด เด็กในโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะเด็กกลุ่มนี้มีถึงร้อยละ 80 ขณะที่เด็กในเมืองมีเพียงร้อยละ 20 ซึ่งหากไม่พัฒนาคุณภาพการศึกษา เด็กต่างจังหวัด คุณภาพการศึกษาไทยก็ตกต่ำอย่างที่เป็นอยู่ และควรให้ความสำคัญเด็กตามแนวตะเข็บชายแดนของประเทศ ที่จะกลายเป็นกำลังสำคัญเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมถึงจะต้องเตรียมความพร้อมกรณีการหลั่งไหลเข้ามาของนักเรียนจากประเทศ เพื่อนบ้านในละแวกนั้นๆ ว่ามีการจะมีหลักสูตรอะไร จัดการศึกษาอย่างไร เรื่องนี้ยังไม่มีใครพูดถึงเลย” รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว.

ที่มา : เดลินิวส์

หวั่นงานตันคอขวด ที่สำนักปลัด ศธ.

"ชินภัทร"ชี้เรื่องไม่จำเป็น/หนุนการศึกษาพิเศษขึ้นกรม-บุคลากรหน้าใส
     เมื่อวันที่ 24 ม.ค.56 นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงกรณีการปรับโครงสร้างการบริหารงานของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ใหม่ ซึ่งจะกำหนดให้การเสนองานต่างๆ ขององค์กรหลักต้องเสนอผ่านสำนักงานปลัด ศธ. เพื่อเสนอให้ รมว.ศึกษาธิการ ว่า โดยส่วนตัวคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดีนัก เพราะใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ ศธ. พ.ศ.2546 กำหนดว่าองค์กรหลักทั้ง 5 แท่ง ต้องรายงานตรงต่อ รมว.ศึกษาธิการ เพราะผู้บริหารแต่ละองค์กรหลักก็เป็นระดับเทียบเท่าปลัด ศธ.และการกำหนดเช่นนี้ เพื่อให้มีความคล่องตัวในการทำงาน หากจะเพิ่มสายบังคับบัญชาอีก 1 สาย จะเป็นเรื่องที่จะขัดกับวัตถุประสงค์แรกเริ่มใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ ศธ. อีกทั้งงานนโยบาย เป็นงานที่ไม่ได้เสนอบ่อย จึงไม่จำเป็นต้องผ่านสำนักงานปลัด ศธ. อีกทั้งปกติก็จะมีการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักทุกสัปดาห์อยู่แล้ว อะไรที่จะมีการประสานกันก็ควรจะได้หารือกันในที่ประชุมดังกล่าวได้ 
     "สำนักงานปลัด ศธ.รับไหวหรือไม่ หากงานทุกอย่างต้องเสนอไปให้ และจำเป็นหรือไม่ที่สำนักงานปลัดศธ. ต้องรับรู้ทุกเรื่อง เพราะโดยธรรมชาติแล้วงานแต่ละองค์กรก็จะไม่เหมือนกัน ซึ่งสำนักงานปลัด ศธ.ก็คือกรมหนึ่งที่มีภารกิจในงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) อยู่แล้ว หากจะมารับรู้ทุกเรื่องของทุกแท่งอาจจะไม่ใช่ และจะกลายเป็นคอขวดทำให้งานทุกเรื่องไปตันอยู่ที่เดียว" 
     นายชินภัทร กล่าวและว่า สำหรับ การดึงสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษที่ดูแลการศึกษาพิเศษ (สศศ.) ที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปอยู่กับสำนักงานปลัด ศธ.โดยจะยกฐานะเป็นกรม นั้นก็ไม่มีปัญหา เพราะที่จริงแล้วงานการศึกษาพิเศษ มีการบริหารงานแบบเขตเดียวทั่วประเทศ จะโยกไปตรงไหนงานก็สามารถเดินหน้าได้ ส่วนข้าราชการครูและบุคลากรฯ ที่มีประมาณ 10,000 คน ที่จะต้องโยกตามไปด้วย ก็ไม่น่าจะห่วงเรื่องความก้าวหน้าในหน้าที่ เพราะมีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สศศ. อยู่แล้วเฉพาะ ทั้งนี้การย้ายข้ามสังกัด จะต้องมีการออกบทเฉพาะกาลเพื่อมาดำเนินการด้วย
     ด้านนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า กรณีกำหนดให้การเสนองานต่างๆ ขององค์กรหลักต้องเสนอผ่านสำนักงานปลัด ศธ. ก่อนไปถึง รมว.ศึกษาธิการนั้น ควรจะต้องมีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้มารองรับว่า เมื่อทำแล้วเกิดประโยชน์อย่างไร เพราะขณะนี้ทิศทางการทำงานขององค์กรหลักจะเน้นการกระจายอำนาจไปยังเขต พื้นที่ฯ และสถานศึกษา งานในส่วนกลางจึงมีไม่มาก ฉะนั้นงานของ สอศ.ที่จะเสนอผ่านสำนักงานปลัด ศธ.ก็คงไม่มากเช่นกัน

ที่มา : สยามรัฐ

สมาพันธ์ครูนราฯออกแถลงการณ์จี้จับคนร้ายยิงครูรายที่158

ครูใต้

                เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 24 มกราคม  ที่ห้อประชุมชั้น 2 วิทยาลัยชุมชน  จ.นราธิวาส อ.เมืองนราธิวาส นายบุญสม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนใต้  นายสงวน อินทร์รักษ์ ประธานสมาพันธ์ครู จ.นราธิวาส นายจำนัล เหมือนดำ ปลัดจ.นราธิวาส และ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส ทั้ง 3 เขต และตัวแทนกองกำลังเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจฝ่ายปกครอง  หารือร่วมกับผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 3 เขตการศึกษา จำนวน 378 โรง เพื่อรื้อมาตรการรักษาความปลอดภัยครูทั้งระบบ  โดยทางผู้อำนวยการโรงเรียนเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่จัดกำลังเข้าไปดูแลครู เสริมชุด ชรบ.ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบภายในโรงเรียน  เนื่องจากขณะนี้แม้โรงเรียนใดไม่มีครูไทย-พุทธสอนหนังสือ กลุ่มคนร้ายยังบุกยิงครูมุสลิมกลางวันแสกๆ
                  ซึ่งเรื่องดังกล่าวนายจำนัล เหมือนดำ ปลัด จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัด จะนำข้อเสนอของครู เข้าไปประชุมกับตัวแทนเจ้าหน้าที่กองกำลัง 3 ฝ่าย  เพื่อวางมาตรการรับผิดชอบจุดต่างๆทั้งภายในและบริเวณนอกโรงเรียน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก
                ในที่ประชุม นายสงวน อินทร์รักษ์ ประธานสมาพันธ์ครูจ.นราธิวาส นำเรื่องการศึกษาของเด็กในพื้นที่ จ.นราธิวาส  ซึ่งหยุดเรียนบ่อยหลังเกิดเหตุร้าย จนไม่สามารถศึกษาได้ทัดเทียมกับเยาวชนในพื้นที่อื่นว่า เรื่องนี้อยากให้ผู้บริหารโรงเรียนแต่ละแห่งพิจารณา หากวิชาไหนไม่สำคัญให้ครูนำวิชาหลักไปสอนแทนในชั่วโมงนั้น  นอกจากนี้ ในที่ประชุม ยังได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบใน 2 ประเด็นคือ
                1.ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งรัดจับกุมคนร้ายมาลงโทษ  2.หากพบกระแสข่าวกลุ่มคนร้ายมีแผนลอบทำร้ายครู ให้เจ้าหน้าที่รีบส่ง SMS มาให้ผู้บริหารได้รับทราบโดยเร็ว เพื่อที่จะได้ปรับตัวตั้งรับกับเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น

ที่มา : แนวหน้า

กกต.เร่งถกสทศ.เลื่อนเวลาสอบGAT/PATเป็น14.00น.ให้นร.ใช้สิทธิ์

นายประพันธ์ นัยโกวิท

                เมื่อวันที่ 24 มกราคม ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 3 มี.ค.ตรงกับวันสอบ GAT/ PAT ของนักเรียนอายุครบ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปว่า กกต.กทม.จะประสานกับสถานบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ว่ามีนักเรียนที่มีอายุครบ 18 ปี ที่มีสิทธิเลือกตั้ง และต้องสอบ GAT/ PAT มีทั้งหมดจำนวนเท่าใด เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งอยู่ในหน่วยเลือกตั้งใดบ้าง  ซึ่งเบื้องต้นทราบว่า เป็นนักเรียนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งอยู่ประมาณ 2,800 คน ซึ่งโรงเรียนที่จัดให้มีการสอบ GAT/PAT ทั้ง 26 สนามสอบนั้น ส่วนใหญ่ก็จะมีหน่วยเลือกตั้งอยู่ด้วย อีกทั้ง เชื่อว่าหน่วยเลือกตั้งที่นักเรียนเหล่านี้ต้องไปใช้สิทธิ์อยู่ไม่ห่างจาก พื้นที่ที่มีการสอบ
                  ดังนั้น จึงจะต้องหารือกับสทศ. ขอให้มีการเลื่อนเวลาในการเข้าสอบช่วงบ่าย เป็นเวลา 14.00 น. เพื่อให้นักเรียนที่มีสิทธิเลือกตั้งสามารถไปใช้สิทธิ และเดินทางกลับมาสอบได้ทัน โดย กกต.กทม. จะประสานให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งทุกหน่วยอำนวยความสะดวกให้นักเรียน ที่ไปใช้สิทธิให้ใช้สิทธิได้โดยเร็ว เช่นเดียวกับผู้สูงอายุ และคนพิการ แต่ทั้งนี้ ขอให้นักเรียนที่มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกได้ตรวจสอบหมายเลขประจำตัวผู้มี สิทธิ สถานที่ลงคะแนน จากหนังสือแจ้งเจ้าบ้านที่ทางเขตส่งไป เพื่อให้เวลาการใช้สิทธิจะได้เป็นไปอย่างรวดเร็ว
                “คิดว่าหากมีการเลื่อนเวลาการเข้าสอบในช่วงบ่าย ให้นักเรียนมีเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ก็น่าจะช่วยแก้ปัญหาให้นักเรียนไปใช้สิทธิได้ แต่ถ้าหากยังคงเวลาการเข้าสอบเดิม ก็จะทำให้นักเรียนซึ่งมีอายุ 18 ปี ที่ได้ใช้สิทธิเป็นครั้งแรก ไม่ได้ใช้สิทธิ์  แต่ถ้าในเรื่องการจัดอำนวยความสะดวกให้นักเรียนโดยการจัดยานพาหนะให้นั้น ต้องเป็นเรื่องของโรงเรียน หรือผู้ปกครอง ที่จะคอยรับส่งบุตรหลานอยู่แล้ว”นายประพันธ์ กล่าว

ที่มา : แนวหน้า

แต่งเครื่องแบบ ปฏิรูปการศึกษา ไม่สำเร็จ


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

เราคิดเป็นค่ะŽ ตัวแทนนักเรียนหญิงพูดถึงกรณีควรยกเลิกเครื่องแบบนักเรียนที่ ก. ศึกษาธิการบังคับให้ทุกคนต้องแต่งไปโรงเรียน

แต่ครูและผู้ใหญ่มักพูดเป็นทำนองเดียวกันว่าถ้าไม่บังคับก็เกรงว่านักเรียนจะแต่งกันเตลิดเปิดเปิง ไม่รู้จักกาละเทศะ

เรา คิดเป็นว่าที่ไหนควรแต่งอย่างไร ไม่ต้องมาบังคับก็ได้ ถ้าไปโรงเรียน ก็คงไม่แต่งตัวเวอร์เหมือนไปเดินที่อื่น เราคิดเป็นค่ะŽ ตัวแทนนักเรียนหญิงบอกในวงเสวนาเรื่อง ร่างกายใต้บงการ บนเรือนร่างในเครื่องแบบŽ

ในงานเสวนาสาธารณะ ความเป็นไทยตั้งแต่หัวจรดตีนŽ ที่จัดโดยนักศึกษากลุ่มอุษาคเนย์ที่รักŽ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ม. ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อบ่ายวันเสาร์ที่ 19 ม.ค. ที่ผ่านมา

ที่มา www.facebook.com/เมด อิน อุษาคเนย์

วลี เราคิดเป็นค่ะŽ เป็นที่สรรเสริญกับเสียดสีสาดเสียเทเสียอยู่ในเฟซบุ๊ค เมด อิน อุษาคเนย์ มีผู้ปรารถนาดีเอาเนื้อความมาบอกเล่าให้ผมฟัง

แต่มี จำนวนมากซึ่งเป็นผู้ใหญ่หรือผู้โตกว่าตัวแทนนักเรียน แสดงความเห็นในเฟซบุ๊คด้วยท่าทีเสียดสีสาดเสียเทเสียอย่างน่าสมเพชเวทนา เพราะคนพวกนี้เชื่อว่าความคิดตนดีกว่าคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องดีเหนือกว่าผู้เยาว์ เช่น นักเรียน

นี่เป็น เหตุให้ไทยเกิดความล้าหลังทางสังคมวัฒนธรรมยาวนานนับร้อยๆปีมาจนทุกวันนี้ และถ้าไม่ปรับเปลี่ยนก็จะล้าหลังไปในอนาคตอีกไม่รู้จบ

มีนักเรียนบอก เล่าประสบการณ์ตนเองในเฟซบุ๊ค เมด อิน อุษาคเนย์ เกี่ยวกับเราคิดเป็นค่ะŽ แต่ถูกครูฟังไม่เป็นŽทำร้ายนักเรียนทางความรู้สึก ดังนี้

MewmewTnp จากใจเด็กนักเรียนอย่างเราๆเลยค่ะ เรารู้ว่าสถานที่ไหนควรแต่งตัวแบบไหน อยู่โรงเรียนควรแต่งตัวยังไง เรารู้ เราคิดเป็น ผู้ใหญ่บางคนเลิกมัวแต่อยู่ในโลกแคบของตัวเอง และปล่อยให้เด็กตัดสินใจเองบ้างเหอะ ไม่งั้นสมองจะฝ่อเพราะว่าไม่ได้คิด ไม่ได้พูดในสิ่งที่อยากพูด

อย่างเหตุการณ์ที่เจอเร็วๆนี้ ครูให้ทำเอ็มวี รณรงค์เรื่องอะไรก็ได้ เราอยากทำเรื่องถุงยาง คิดแบบเสร็จ เอาเนื้อเรื่องให้ครูดู ครูอ่านอยู่แวบเดียว แล้วเบ้หน้า บอกเราว่าอย่าหมกมุ่นŽ ทำเรื่องไกลตัวทำไม ทำไมไม่เอาเรื่องทิ้งขยะง่ายๆล่ะ แล้วเวลาแสดงจะถ่ายยังไง ตอนใส่ถุงยาง ทั้งๆที่ในฉากที่เราเขียน ไม่มีฉากใส่ถุงยาง ไม่มีฉากโป๊ ครูอ่านอยู่แค่ 2 บรรทัดแล้วตัดสินเราว่าเป็นพวกหมกมุ่น

นี้ไงล่ะ ความคิดแคบๆของพวกผู้ใหญ่ เดี๋ยวนี้โลกมันไปถึงไหนกันแล้ว มัวแต่มาจำกัดความคิดเด็ก แล้วจะปล่อยให้เราคิดกันทำไม ทำไมไม่คิดแทนเราไปเลยล่ะ

ขอต่ออีกนิดนะคะ หลังจากที่เราโดนครูตอกมาแบบนั้น รู้สึกหมดกำลังใจเลยทันที ครูไม่รู้หรอกค่ะว่าได้ทำร้ายความรู้สึกเด็กคนนึงขนาดไหน ไม่อยากที่จะคิด ไม่อยากที่จะทำอะไรอีกเลย และความศรัทธาในตัวครูก็ไม่มีเหลืออีกเลย

ผู้ใหญ่อ้างว่าเครื่องแบบมีผลต่อมันสมองและสติปัญญา ทำให้เฉลียวฉลาดหลักแหลม

เลยมีคนจำนวนไม่น้อยข้องใจ ว่าแล้วทำไมคนในเครื่องแบบทุกวันนี้ ในกระทรวงทบวงกรมและกองทัพต่างๆ ถึงไม่เป็นอย่างที่ผู้ใหญ่อ้างล่ะ?

ทำไมครูซึ่งเป็นข้าราชการมีเครื่องแบบสีกากี ถึงไม่เฉลียวฉลาดหลักแหลม โดยปฏิเสธเอ็มวีของนักเรียนรณรงค์เรื่องถุงยางอนามัย?

ปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาหลายปีไม่ประสบความสำเร็จ น่าจะมีเหตุจากใส่เครื่องแบบทำงานปฏิรูป

ดังนั้นรัฐบาลต้องยกเลิกเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน(ทหารและตำรวจไม่ยกเลิก) กับเครื่องแบบนักเรียนนักศึกษา การปฏิรูปการศึกษาจะมีโอกาสสำเร็จ

ที่มา :
มติชน

คณบดีครุฯ จุฬาฯ แนะ ศธ.ทำแผนคืนอัตราเกษียณให้ชัด

ศ.ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

       แนะ ศธ.เตรียมแผนขอคืนอัตราเกษียณให้ชัดเจน
      
       ศ.ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการเสวนานโยบายและทิศทางการพัฒนาระบบการศึกษาไทย เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ศธ.แก้ปัญหาการศึกษาที่ผ่านมา เหมือนจะมาถูกทางแต่ก็พบกับดักทางการศึกษา คือ 1.การควบคุมคุณภาพการศึกษา โดยกำหนดให้ครูทุกคนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และทำผลงานเพื่อขอวิทยฐานะ ซึ่งดูเหมือนจะมาถูกทางแต่มีกับดัก คือ ทำให้ครูทำแต่ผลงานวิชาการ และทิ้งห้องเรียน ส่วนการมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ก็ไม่ได้ทำให้ครูมีคุณภาพเพิ่มขึ้น เพราะเราให้ครูประจำการได้รับใบอนุญาตฯทันที ขณะที่เราผลิตครูใหม่ 5 ปี และรับใบอนุญาตฯ ขณะนี้ก็ผลิตได้เพียง 20,000 คน เป็นเลือดใหม่ในวงการ ขณะที่เลือดเก่ายังมีอยู่กว่า 3 แสนคน ที่สำคัญ ผลิตครูใหม่แล้ว โรงเรียนก็ไม่ใช้ครูตามสาขาที่จบเอกมา ก็เป็นปัญหาคุณภาพตามมาอีก
      
       2.เรื่องการกระจายอำนาจของ ศธ.ให้เขตพื้นที่มีคณะกรรมการ 2 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการเขตพื้นที่ และ คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ.ซึ่งมีอำนาจในการโยกย้ายครู โดยที่ ผอ.เขตพื้นที่ มีหน้าที่เหมือนตรายาง ทั้งนี้ ตนเสนอว่า ต้องกระจายอำนาจให้คณะบุคคล ไม่ใช่บุคคลคนใดคนหนึ่ง และควรยุบกรรมการทั้ง 2 ชุดให้เหลือเพียงชุดเดียว และ 3.ศธ.ควรปรับปรุงการขอคืนอัตราเกษียณ ให้เร็วขึ้น ที่ ผ่านมา ศธ.เสนอขอคืนอัตราเกษียณ หลังจากวันที่ 30 ก.ย.ของทุกปี และขั้นตอนการคืนอัตราเกษียณ ก็ล่าช้า ทำให้โรงเรียนขาดครูที่จะมาทดแทน ที่สำคัญ ศธ.เล่นการเมืองมากไป มุ่งจะขออัตราคืนในช่วงเวลาใกล้เปิดเทอม เพื่อเป็นการบีบให้รัฐบาลเร่งคืนอัตรา ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่า ในแต่ละปีมีครูเกษียณกี่คน ดังนั้น ควรวางแผนการขอคืนอัตราเกษียณตั้งแต่เดือน พ.ค.ของทุกปี เมื่อครูเกษียณก็จะมีครูใหม่เข้ามาทำงานแทนได้ทันที
      
       ด้าน ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่า ขอฝากให้ รมว.ศึกษาธิการ ส่งเสริมการทำวิจัยของประเทศ ขณะนี้รัฐบาลสนับสนุนงบวิจัย เพียง 0.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ซึ่งถือว่าน้อยมาก ทั้งนี้ เราควรแบ่งกลุ่มมหาวิทยาลัย่ เป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัย มหาวิทยาลัยเพื่อการสอน และบริการสังคม เพื่อสนับสนุนงบวิจัยให้ชัดเจน นอกจากนี้ ยังอยากให้ ศธ.ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพอาจารย์มหาวิทยาลัย เพราะที่ผ่านมา ศธ.สนใจพัฒนาคุณภาพครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ละเลยอาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่น่าสงสาร ขณะนี้คนที่มีความสามารถมากที่สุด ไม่สนใจที่จะเลือกทำงานในมหาวิทยาลัยแล้ว โดยเฉพาะคนที่จบจากต่างประเทศ ทำให้มหาวิทยาลัยต้องเลือกคนที่จบในประเทศ ซึ่งเราก็ต้องมีมาตรการพัฒนาบุคลากร ให้ได้ดูงานต่างประเทศ เพื่อเปิดโลกทัศน์ แต่ที่ผ่านมา ศธ.ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอาจารย์มหาวิทยาลัยในอันดับท้ายๆ

ที่มา : ผู้จัดการ

กกอ.เข้ม.เปิดนอกสถานที่

          ดร.ถนอม อินทรกำเนิด คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านมาตรฐาน ของคณะกรรมการการอุดมศึกษาเปิดเผยว่า จากข้อมูลการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา เมื่อเดือนธันวาคม 2554 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะมีการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ซึ่งพบว่าจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนจำนวน 150 แห่ง มีสถาบันอุดมศึกษาที่แจ้งว่ามีการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง จำนวน 96 แห่ง 687 ศูนย์ และ 1,000 กว่าหลักสูตร ขณะที่คณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบ สถาบัน 32 แห่ง และ 45 ศูนย์ ล่าสุดข้อมูลเดือนพฤศจิกายน 2555 พบว่ามีสถาบันที่จัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งจำนวน 59 แห่ง 213 ศูนย์และ 545 หลักสูตร
          "การที่สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งมีแนวโน้มในการลดจำนวนลง ปิดศูนย์นอกสถานที่ตั้งและหลักสูตรลงเรื่อยๆ ถือว่าเป็นการส่งสัญญาณที่ดีว่าสถาบันอุดมศึกษาของไทยได้ตระหนักถึงคุณภาพใน การจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งมากขึ้น คำนึงถึงมาตรฐานและคุณภาพตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด ซึ่งที่ผ่านมามีมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน แจ้งเป็นเอกสาร หรือโทรศัพท์มาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าได้ปิดศูนย์การศึกษานอก สถานที่ตั้งไปแล้ว ทำให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาไม่ออกไปตรวจประเมินสถาบันนั้น แต่ก็มีข่าวตามว่าบางแห่งกลับไม่ได้ปิดจริงตามที่แจ้ง ผมจะเสนอกกอ. ตั้งคณะกรรมการเพื่อออกไปตรวจสอบว่าสถานบันที่แจ้งว่าปิดศูนย์นอกสถานที่ ตั้งแล้วนั้นปิดจริงหรือไม่ ถ้าให้ข้อมูลเท็จจะต้องถูกดำเนินการต่อไป" ดร.ถนอม กล่าว
          ทั้งนี้ สำหรับสถาบันการศึกษาใดที่ให้ข้อมูลเป็นเท็จนั้นจะมีบทลงโทษอยู่แล้ว โดยในส่วนของมหาวิทยาลัยเอกชนจะถูกปรับและโทษทางอาญาส่วนมหาวิทยาลัยของรัฐ จะถูกสอบวินัย ซึ่งถือว่ารุนแรงแล้ว โดยเฉพาะอธิการบดี คณบดีและผู้เกี่ยวข้องโดนแน่นอน

          ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ห้ามครูขาย'ประกัน-เครื่องสำอาง'น.ร. ก.ค.ศ.เล็งออกกฎเหล็กคุม'จริยธรรม'

           รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน ก.ค.ศ.กำลังจัดทำประชาพิจารณ์ร่างกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ... ที่ออกตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 279 และ มาตรา 280 และ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 มาตรา 19(4) ตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะมีผลบังคับให้ข้าราชการครู ต้องปฏิบัติตามร่างประมวลจริยธรรมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แนบท้ายร่างกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยประมวลจริยธรรม โดยได้มีการกำหนดประมวลจริยธรรมไว้ 15 ข้อ อาทิ ข้อ 4 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพึงยึดถือคุณธรรม 4 ประการ ตาม พระบรมราโชวาท เป็นเครื่องกำหนดกรอบในการประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่ การรักษาสัจความจริงใจต่อตนเองที่จะปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็น ธรรม การอดทนอดกลั้นไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม, ข้อ 6 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม โดยต้องอบรมสั่งสอนศิษย์ด้วยจิตเมตตาไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายหรือละเมิดต่อศิษย์ มีจิตกรุณาให้ความคุ้มครองปกป้องศิษย์ตามความเหมาะสมและจำเป็น  ละเว้นการเข้าไปเกี่ยวกับกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรมและอบายมุข ไม่ใช้เวลาราชการ เงิน ทรัพย์สิน บุคลากรหรือสิ่งอำนวยความสะดวกของทางราชการไปเพื่อประโยชน์ทำธุรกิจของตน หรือของผู้อื่น ไม่กระทำกิจกรรมหรือประกอบอาชีพเสริมที่มีลักษณะเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน หรือเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม ไม่ใช้อำนาจหน้าที่หรือกรรมการใดที่เป็นคุณหรือโทษแก่บุคคลใดด้วยความไม่ เป็นธรรม หรือเป็นการเลือกปฏิบัติ เป็นต้น, ข้อ 11 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบ ถ้วนและไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง, ข้อ 12 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพโปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นต้น
          รายงานข่าวระบุด้วยว่า ในร่างกฎ ก.ค.ศ.ดังกล่าว ยังกำหนดไว้ว่าการละเมิด ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม เป็นความผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำส่วนราชการ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี และยังกำหนดให้ดำเนินการทางวินัยและลงโทษทางวินัยแก่ข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาที่กระทำการละเมิด ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการตั้งคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการขึ้น เพื่อกำกับดูแลให้ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม ทั้งนี้ ในส่วนของมาตรฐานจริยธรรมที่กำหนด จะต้องมีการพิจารณาปรับหรือทบทวนทุกๆ 4 ปี อย่างไรก็ตาม หลังจากรับฟังความคิดเห็นจากครู ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องในร่างกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยประมวลจริยธรรม และร่างประมวลจริยธรรม แนบท้ายแล้ว จะต้องนำเสนอที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณาเห็นชอบ เพื่อนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
          แหล่งข่าวจาก ก.ค.ศ.ระบุด้วยว่า ร่างกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยประมวลจริยธรรม และร่างประมวลจริยธรรมที่อยู่ระหว่างการประชาพิจารณ์นี้ หากมีการประกาศใช้ จะถือเป็นครั้งแรก เพราะแม้ก่อนหน้าจะมีการจัดทำมาหลายรอบแล้ว แต่ยังไม่มีการประกาศใช้ ขณะที่ส่วนราชการอื่นๆ เช่น ข้าราชการพลเรือนได้กำหนดประมวลจริยธรรมออกมาแล้ว ที่สำคัญร่างประมวลจริยธรรมของครูฉบับดังกล่าว ได้กำหนดประมวลจริยธรรมค่อนข้างละเอียดกว่าระเบียบวินัยของข้าราชการ เช่น กรณีการประกอบอาชีพเสริม หากครูนำเครื่องสำอาง อาหารเสริม หรือขายประกันให้แก่นักเรียน ก็อาจจะเข้าข่ายผิดจริยธรรม แต่ทั้งหมดนี้จะต้องมีการตีความและพิจารณาเป็นรายกรณีไป

          ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

คอลัมน์: รายงาน: สสวท. จุดประกายครู สอนวิทย์ผ่านเรื่องใกล้ตัว

          ปัญหาคะแนนวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยตกต่ำ กลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ภาคการศึกษาต้องเร่งแก้ไข ดังนั้นสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จึงได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และองค์กรความร่วมมือแลกเปลี่ยนทางวิชาการแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (DAAD) เปิดตัว โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา เพื่อจุดประกายความคิดให้เด็กและเยาวชนเกิดแรงบันดาลใจ สนุกกับการเรียน โดยสร้างบรรยากาศห้องเรียนให้เสมือนอยู่ในห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย
          อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สสวท.ได้เดินหน้าโครงการโดยจัดค่ายเตรียมความพร้อมครูวิทยากรประจำศูนย์ พัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาขึ้น นางดวงสมร คล่องสารา รองผู้อำนวยการ สสวท. กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมของครูวิทยากรในครั้งนี้ จะทำให้ครูเข้าใจกิจกรรมที่จะนำไปใช้ในการจัดค่ายวิทยาศาสตร์ ซึ่งทุกกิจกรรมผ่านการยอมรับในหลายประเทศ เช่น จีน อียิปต์ และประสบความสำเร็จในการกระตุ้นให้เด็กๆ เกิดแรงบันดาลใจ มีทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์มากขึ้น
          นางฤทัย จงสฤษดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารค่ายวิทยาศาสตร์ สวทช. กล่าวว่า กิจกรรมในโครงการมหาวิทยาลัยเด็ก เป็นกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์ ที่เน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติ และพยายามใช้ประสาทสัมผัสที่มีอยู่ ซึ่งจะต้องเน้นจุดประกายในสิ่งที่เหมาะสม และเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของเด็กด้วย โดยกิจกรรมที่นำมาอบรมครูมีหลายชุด อาทิ กิจกรรมการทดลองชุด "ผลไม้สกุลส้ม" และชุด "เคมีของน้ำนม" เป็นต้น
          กิจกรรมการทดลองชุด "ผลไม้สกุลส้ม" เป็นกิจกรรมที่จะทำให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลไม้สกุลส้มและได้ รับประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับผลไม้สกุลส้มผ่านการปฏิบัติทดลองทางวิทยา ศาสตร์ ซึ่งจะเป็นการทดลองตามคุณสมบัติ คือ เรื่อง "กลิ่น" ที่จะได้เรียนรู้ถึงคุณสมบัติพิเศษของผลไม้สกุลส้ม นั่นคือ มีกลิ่นหอม แล้วกลิ่นหอมนี่มาจากไหน มีคุณสมบัติอย่างไร และคุณสมบัตินี้น่าจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้อีก นอกจากนำไปทำน้ำมันหอมระเหย เพื่อใช้สำหรับผ่อนคลาย ครูจะหาคำตอบได้จากกิจกรรมนี้
          ต่อกันที่เรื่อง "กรด" ซึ่งเป็นการทดลองที่แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติความเป็นกรดของผลไม้สกุลส้ม เราคงคุ้นเคยกันดีว่าเวลาทานมะนาวแล้วรู้สึกเปรี้ยว ซึ่งเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่แสดงความเป็นกรด แต่เราจะรู้ได้อย่างไร การทดลองนี้ ครูจะได้ทดสอบความเป็นกรดของผลไม้สกุลส้มและยังสามารถทดสอบความเป็นกรด-ด่าง สารเคมีต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ด้วย โดยใช้น้ำกะหล่ำปลีม่วงเป็นอินดิเคเตอร์หรือตัวชี้วัดความเป็นกรด-ด่าง การทดลองนี้จะได้เห็นน้ำกะหล่ำปลีม่วงเปลี่ยนจากสีม่วงแดงเป็นสีสันต่างๆ มากมาย
          น.ส.สุกัญญา พรน้อย ครูโรงเรียนวัดดอนทอง จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า การปรับรูปแบบการเรียนการสอนโดยทำให้เด็กสนุก และได้ทดลองทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตัวเองจะทำให้เขาสนใจเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้น
          นายพิสิทธิ์ ฤทธิ์เนติกุล ครูโรงเรียนอัสสัมชัญธัญบุรี กรุงเทพฯ กล่าวว่า เป็นการนำสิ่งที่อยู่รอบตัวมาเป็นสื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และเป็นการสอนที่ดีมาก สำหรับโรงเรียนที่ไม่มีความพร้อมเรื่องสื่ออุปกรณ์ ในขณะเดียวกันก็เป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ตามธรรมชาติมาเตรียมเอง เด็กก็จะเกิดความภาคภูมิใจและเห็นว่าวิทยาศาสตร์อยู่รอบตัวจริงๆ
          นับว่าโครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย เป็นอีกหนึ่งความหวังในการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กไทยหัวใจวิทย์ในการก้าว เดินสู่อนาคตอย่างมั่นใจและมั่นคง

          ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

ข้าราชการ 2.72 ล้านคน เฮ ครม.สั่งรื้อระบบเงินเดือนทั้งหมด

          กรุงเทพฯ : ครม. ตั้งกรรมการทบทวนเงินเดือนข้าราชการ เปิดทางรื้อใหญ่ทั้งระบบเพื่อทำให้โครงสร้างเงินเดือนข้าราชการ 2.72 ล้านคนเกิดความสมดุลและเท่าเทียม
          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา ที่ประชุมมีมติให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เตรียม เรื่องเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อศึกษาทบทวนความเหมาะสมของค่าตอบ แทนของผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐในภาพรวมทั้งหมดให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาในสัปดาห์หน้า
          โดย ก.พ.ร. ได้เสนอเรื่องการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบ แทนอื่นของผู้อำนวยการองค์การมหาชนเพื่อเสนอต่อ ครม. เมื่อวันที่ 21 มกราคม และขอเสนอให้ ครม. พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการระดับ ชาติเพื่อศึกษาทบทวนความเหมาะสมของค่าตอบแทนของผู้บริหารและบุคลากรในหน่วย งานรัฐทั้งหมด ซึ่ง ครม. พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อทำให้โครงสร้างเงินเดือนข้าราชการ 2.72 ล้านคนเกิดความสมดุลและเท่าเทียม และแก้ไขปัญหาการลักลั่นอันเนื่องมาจากองค์กรอิสระขอปรับขึ้นเงินเดือนตัว เอง จึงเห็นควรตั้งคณะกรรมการดังกล่าวขึ้น
          นอกจากนี้ยังให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบ เกี่ยวกับอัตราค่าตอบแทนของหน่วยงานภาครัฐในภาพรวม ทั้งส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน มหา วิทยาลัยในกำกับของรัฐ หน่วยงานอื่นของรัฐในสังกัดฝ่ายบริหาร สังกัดฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
          ทั้งนี้ เพื่อให้อัตราค่าตอบ แทนมีความเสมอภาค เป็นธรรม และเหมาะสมเทียบเท่ามาตรฐานการครองชีพ และให้สอดคล้อง กับระบบการบริหารงานสมัยใหม่ นอกจากนี้ยังให้จัดทำข้อเสนอการปรับปรุงอัตราค่าตอบแทนขั้นสูงและขั้นต่ำของ ผู้บริหารภาครัฐที่เป็นมาตรฐานเพื่อ ครม. จะได้ใช้ประกอบการพิจารณาต่อไป

          ที่มา: หนังสือพิมพ์โลกวันนี้

แนะดูคุณภาพหลังครูมีเงินวิทยฐานะ

          รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีนักศึกษาต่างชาติมาเรียนที่ มฟล.จำนวนมาก ซึ่งพบข้อแตกต่างชัดเจนว่านักศึกษาต่างชาติส่วนใหญ่จะตั้งใจเรียนมากกว่า เด็กไทย ที่สำคัญนักศึกษาต่างชาติบางประเทศ เช่น พม่า เวียดนาม และภูฏาน สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดีกว่าเด็กไทยมาก ส่วนนักศึกษาเกาหลี ญี่ปุ่น ใช้ภาษาอังกฤษอยู่ระดับปานกลาง ขณะที่นักศึกษาลาว และจีนอยู่ในระดับที่ไม่ดีเท่าไหร่ สำหรับนักศึกษาไทยพบว่าเด็กที่เก่ง ๆ อยู่ในระดับดีมาก ส่วนเด็กที่อ่อนก็จะอ่อนไปเลย ดังนั้นเราต้องพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษใหม่ทั้งหมด โดยเริ่มตั้งแต่ระดับประถมศึกษา เพราะจำเป็นต่อการแข่งขันในอนาคต โดยเฉพาะการเปิดประชาคมอาเซียน
          รศ.ดร.วันชัย กล่าวต่อไปว่า มฟล.พยายามช่วยแก้ไขปัญหาคุณภาพการศึกษา โดยการนำครูสอน 8 กลุ่มสาระของโรงเรียนในจังหวัดเชียงรายมาอบรมพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งผลปรากฏว่าหลังจากที่ครูมาอบรมกับ มฟล.ทำให้ผลการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ของนักเรียนดีขึ้นมาก อีกทั้งยังพบว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรงเรียนต่างจังหวัดมีคุณภาพหรือไม่ขึ้น อยู่ที่ตัวผู้บริหารสถานศึกษา ที่จะต้องให้ความสนใจ มีเวลา และให้ความสำคัญกับการบริหารโรงเรียนอย่างจริงจัง รวมทั้งการเปลี่ยนตัวผู้บริหารสถานศึกษายังเชื่อมโยงต่อผลสัมฤทธิ์ของนัก เรียนทั้งโรงเรียนด้วย
          "การปฏิรูปการศึกษา ตั้งแต่ปี 2542 เน้นเปลี่ยนโครงสร้าง มีการกระจายอำนาจไปยังเขตพื้นที่การศึกษา แต่ผลคือผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาไม่มีทักษะเพียงพอที่จะกำกับดูแล คุณภาพการศึกษา จนเกิดความเสียหายต่อการศึกษา ผมเห็นด้วยให้แก้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 ให้ปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการใหม่ โดยเฉพาะเขตพื้นที่การศึกษา และการพัฒนาครูที่ควรให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ช่วยอบรมพัฒนาครูในโรงเรียน ใกล้เคียง แต่การบริหารงานระบบให้เป็นหน้าที่ส่วนกลางเหมือนเดิม ส่วนเงินวิทยฐานะของครูอยากให้มีการสำรวจใหม่ว่า หลังจากได้เงินวิทยฐานะแล้ว คุณภาพการศึกษาดีขึ้นหรือไม่ แต่เท่าที่ดูคุณภาพยังเหมือนเดิม" รศ.ดร.วันชัย กล่าว.


          ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

ศธ.ออกหนังสือซ้อมความเข้าใจและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียน

          ศึกษาธิการ - นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามในหนังสือเวียนถึงหัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานศึกษาในสังกัด ลงวันที่ 17 มกราคม 2556 เพื่อซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียน
        รมว.ศธ.ได้ลงนามในหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ 0209/189 ลงวันที่ 17 มกราคม 2556 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียน โดยให้สถานศึกษาปฏิบัติเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียนเป็นแนวทางเดียวกัน เนื่องจากที่ผ่านมาปรากฏว่าสถานศึกษาบางแห่งมีความเข้าใจในเรื่องทรงผมนัก เรียนไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จึงขอชี้แจงและซ้อมความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งให้สถานศึกษาปฏิบัติเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียนเป็นแนวทางเดียวกัน ดังนี้ 

1) นักเรียนชาย ให้ไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ หากไว้ผมยาวด้านข้างและด้านหลังต้องยาวไม่เลยตีนผม เช่น แบบทรงผมรองทรง
2) นักเรียนหญิง ให้ไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวก็ให้รวบให้เรียบร้อย 

อนึ่ง ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการอยู่ระหว่างพิจารณาดำเนินการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน

จึงเรียนมาเพื่อทราบ และแจ้งเวียนให้สถานศึกษาในสังกัดทราบและถือปฏิบัติต่อไป

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


ครู ร.ร.ปริยัติธรรมฯเฮ ครม.ไฟเขียวขึ้นเงินเดือน 15,000 บาท


       เมื่อ วันที่ 21 มกราคม นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อเร็วๆ นี้ อนุมัติให้ปรับเพิ่มเงินเดือนครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนพระ ปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เป็นเดือนๆ ละ 15,000 บาท จากมติดังกล่าวจึงทำให้มีการปรับเงินเดือนครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียน พระปริยัติธรรม 2 ส่วน ได้แก่ 1.อุดหนุนปรับเงินเดือนครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 2,843 รูป/คน จากเดิมได้รับเดือนละ 10,024 บาท เป็น 11,680 บาท เท่าอัตราเงินเดือนแรกบรรจุของข้าราชการวุฒิปริญญาตรี 2.อุดหนุนเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียน พระปริยัติธรรม ที่เป็นคฤหัสถ์และมีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี มีเงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 15,000 บาท จำนวน 1,346 คน ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนอีกจนถึง 15,000 บาท 
               
       ผู้อำนวยการ พศ. กล่าวต่อว่า การขึ้นเงินเดือนและปรับเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท มีผลย้อนหลังตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน 2555 รวมทั้งหมด 9 เดือน โดยใช้งบกลางปี 2555 จำนวน 79,684,500 บาท ส่วนในปี 2556 นี้ พศ.กำลังดำเนินการจัดทำรายละเอียดการปรับเพิ่มเงินเดือนครูและบุคลากรทางการ ศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมให้อยู่ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อเสนอต่อสำนักงบประมาณต่อไป อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มเงินเดือนครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมใน ครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตผู้จบปริญญาตรีให้ได้รับ เงินเดือน 15,000 บาท ที่สำคัญจะทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจสังคมและเป็นขวัญกำลังใจใน การปฏิบัติหน้าที่การบริหารและการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไป



ที่มา : มติชน


กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จัดสรรตำแหน่งครูผู้ช่วยให้ อปท.ตาก จำนวน 73 อัตรา



รายละเอียดเพิ่มเติม

เทศบาลตำบลแม่ยวม เปิดรับสมัครสอบแข่งขัน ตำแหน่งครูผู้ช่วย จำนวน 4 อัตรา

        ด้วยเทศบาลตำบลแม่ยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีความประสงค์จะรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงาน ครูเทศบาล ตำแหน่งครูผู้ช่วย จำนวน 4 อัตรา 4 สาขาวิชาเอก ดังนี้
1. ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย กลุ่มวิชา ปฐมวัย          จำนวน 1 อัตรา
2. ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย กลุ่มวิชา ประถมศึกษา   จำนวน 1 อัตรา
3. ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย กลุ่มวิชา ภาษาไทย      จำนวน 1 อัตรา
4. ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย กลุ่มวิชา ภาษาอังกฤษ  จำนวน 1 อัตรา 


วัน เวลา และสถานที่ รับสมัครสอบแข่งขัน        กำหนดรับสมัครสอบแข่งขัน ตั้งแต่วันที่ 1 - 26 กุมภาพันธ์ 2556 ณ กองการศึกษาฯ สำนักงานเทศบาลตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันและเวลาราชการ (เวลา 08.30 - 16.30 ) สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับใบสมัครและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้ที่กองการศึกษาฯ เทศบาลตำบลแม่ยวม 0-5368-2606 และ สำนักปลัด เทศบาลตำบลแม่ยวม โทรศัพท์0-5368-2047 ต่อ 0 หรือสามารถดาวน์โหลดใบสมัครทาง www.maeyuam.net

รายละเอียดเพิ่มเติม
ประกาศ 
ภาคผนวกท้ายประกาศ

รองปลัดศธ.แนะทางยกศักยภาพครู แม่นวิชาการถ่ายทอดเก่ง-ทำวิจัยควบการสอน

          ดร.สมบัติ สุวรรณพิทักษ์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวในการบรรยายพิเศษเรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพวิชาชีพครู จัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ว่า การเป็นครูในสายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ต้องเก่งในสาขาที่เรียน นอกจากเนื้อหาวิชาการต้องแม่นยำ ยังต้องมีวิธีการถ่ายทอดที่เก่ง รู้จักที่จะจัดระบบความคิดเพื่อการถ่ายทอด และต้องมีคุณธรรมจริยธรรมของความเป็นครู ต้องมีหัวใจของการทำงานร่วมกับครูคนอื่นๆ ในโรงเรียน และต้องสร้างเครือข่ายการทำงานทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียนให้ได้ ไม่ชิงดีชิงเด่นกัน หากแต่ต้องรู้จักที่จะทำงานแข่งกับตัวเองให้มาก
          "ผมอยากเห็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตครูมีวิชาที่ทันสมัย อย่างวิชาที่จะสร้างภูมิคุ้มกันที่จะช่วยให้นิสิตนักศึกษาซึ่งเรียนในคณะ ศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ และต้องออกไปเป็นครู มีภูมิคุ้มกันให้รู้เท่าทันระบบทุนนิยม บริโภคนิยมที่กระตุ้นให้คนในยุคปัจจุบันอยากมี อยากได้ อยากเป็น แล้วต้องเอารัดเอาเปรียบคนอื่น ผมไม่ได้ปฏิเสธให้ครูไทยต้องใช้ชีวิตรันทดหรือไม่ต้องใช้จ่ายเสียสละตัวเอง จนมีชีวิตที่ลำบาก หากแต่ขอให้รู้เท่าทันระบบบริโภคนิยม" ดร.สมบัติกล่าว
          รองปลัด ศธ.กล่าวว่า นอกจากนี้อยากเห็นสถาบันการศึกษาสอนเรื่องแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้นิสิตที่จะออกไปเป็นครูในอนาคตรู้จักการใช้ชีวิตที่พอเพียง มีความสุขกับสิ่งที่ตัวเองมี ตัวเองเป็น ตลอดถึงต้องสอนให้นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับอาเซียนด้วย ทั้งนี้ ภาษาอังกฤษยังต้องเป็นภาษาหลักที่นิสิตนักศึกษาในวิชาชีพครูต้องเรียนรู้ แต่ภาษาเพื่อนบ้าน อย่างภาษาเขมร ลาว เวียดนาม มลายู ก็จำเป็นต้องเรียนรู้ หากต้องไปเป็นครูในพื้นที่ซึ่งต้องใช้ภาษาของเพื่อนบ้าน
          ดร.สมบัติกล่าวว่า เมื่อต้องไปเป็นครูในโรงเรียนครูรุ่นใหม่ต้องมีความกระตือรือร้น ลงพื้นที่พบเด็กๆ สิ่งที่พบสามารถนำมาทำเป็นงานวิจัยในท้องถิ่นของตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นวิชาใดๆ สามารถนำมาประยุกต์เชื่อมโยงถึงการวิจัยในชั้นเรียนได้ทุกรายวิชา ขอเพียงครูมีความตั้งใจจริง รักในอาชีพ ขยันและรู้จักสังเกตก็สามารถนำเรื่องราวรอบๆ ตัวมาสร้างงานวิจัยของตัวเอง อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อตัวเอง ชุมชนและสังคมอีกด้วย จึงขอให้ทำงานวิจัยควบไปกับการเรียนการสอน

         
          ที่มา: http://www.matichon.co.th/khaosod

ร.ร.กวดวิชาแห่ขอขึ้นป้ายคุณภาพ สช.เผย 10 แห่งผ่านเกณฑ์-ย้ำประเมินทุกด้าน

          นายชาญวิทย์ ทับสุพรรณ รองเลขาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เลขาธิการ สช.) เปิดเผยความคืบหน้าการขึ้นป้ายตราสัญลักษณ์คุ้มครองผู้บริโภคประเภทโรงเรียน กวดวิชา ให้กับโรงเรียนกวดวิชาที่เข้าหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการ ศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หลังร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ตั้งแต่วันที่ 12 พ.ย.55 ที่ผ่านมา ว่า สช.ได้ประกาศให้โรงเรียนกวดวิชาแสดงความจำนงเข้ารับ การตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพ เพื่อขอขึ้นป้ายตราสัญลักษณ์ฯ จากนั้นได้จัดอบรมเจ้าหน้าที่กลุ่มงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และเจ้าหน้าที่ สคบ. ก่อนทยอยตรวจโรงเรียนกวดวิชาที่ยื่นขอรับป้ายตราสัญลักษณ์ฯ ในเวลาต่อมา ส่วนโรงเรียนที่ไม่ได้แสดงความจำนงจะต้องสุ่มตรวจเช่นกัน
          นายชาญวิทย์กล่าวต่อว่า เบื้องต้นจากการลงพื้นที่ตรวจโรงเรียนกวดวิชา 34 แห่ง พบว่าเข้าเกณฑ์ของ สช.ทั้งคุณภาพการบริการ ประสิทธิภาพในการสอน มีความมั่นคง และมีความปลอดภัยในอาคารสถานที่ ทั้งหมด 10 แห่ง อยู่ในพื้นที่ กทม. 7 แห่ง แบ่งเป็นประเภทโรงเรียนกวดวิชา ได้แก่ กวดวิชานพเก้า กวดวิชาไทวิษยพนธ์ และกวดวิชาแม็ทซ์เฮาส์ ประเภทโรงเรียนเอกชนนอกระบบ ได้แก่ กวดวิชาแม่บ้านทันสมัย ประเภทฝึกวิชาชีพ ได้แก่ ปิยะมินทร์คุณารักษ์ ประเภทบริการสอนว่ายน้ำ ได้แก่ สอนว่ายน้ำพรหมประทาน และประเภทโรงเรียนสอนขับรถยนต์ ได้แก่ สอนขับรถยนต์ยูพีดี ที่เหลืออีก 3 แห่ง อยู่ในภูมิภาค ประกอบด้วย ประเภทโรงเรียนเอกชนนอกระบบ ได้แก่ กวดวิชามนตรี จ.สมุทรปราการ ประเภทการศึกษา ได้แก่ ร.ร.ต้นกล้า จ.ระยอง และประเภทโรงเรียนกวดวิชา ได้แก่ ร.ร.กวด วิชาออเรนจ์โฮม จ.นครพนม ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทำประกันคุ้มครองระหว่าง สคบ.กับโรงเรียนทั้ง 10 แห่ง ก่อนรับป้ายตราสัญลักษณ์ฯ เป็นขั้นตอนต่อไป

         
          ที่มา: http://www.matichon.co.th/khaosod

'พงศ์เทพ' แบไต๋ปรับโครงสร้างใหม่ ศธ.

          ขอดูความคุ้มเพิ่มแท่งใหม่ กศน. ย้ำทยอยตั้งนายกสภาสถาบันอาชีวะ          นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังมีการพิจารณาการปรับโครงสร้าง ของกระทรวงศึกษาธิการใหม่ในบางส่วน ซึ่งที่ผ่านมา มีการศึกษาเรื่องนี้กันมาพอสมควรแล้วว่า ควรปรับปรุง โครงสร้างส่วนไหนบ้าง แต่ตนขอเวลาทบทวนและดูให้มั่นใจว่าเมื่อมีการปรับโครงสร้างแล้วกลไกต่างๆ จะเดินหน้าไปด้วยดี ทั้งนี้ เบื้องต้นข้อเสนอการปรับโครงสร้างดังกล่าว จะให้มีการยกฐานะหน่วยงานบางแห่งที่มีภาระงานและความรับผิดชอบมากขึ้นมาเป็น แท่ง เช่นเดียวกับ 5 องค์กรหลักและมีผู้บริหาร ระดับ 11 ส่วนจะเป็นไปได้หรือไม่นั้น ตนขอดูให้มั่นใจ ก่อนว่า เมื่อยกฐานะแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และกลไกการบริหารงานจะดีขึ้น เพราะเมื่อปรับ ไปแล้ว จะปรับกลับมาเหมือนเดิมเป็นเรื่องยาก จึงต้องให้มั่นใจก่อนว่าปรับแล้วดี ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีภาระงานและ ความรับผิดชอบมาก แต่ขอดูเพื่อความรอบคอบ
          รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า ส่วนความคืบหน้าการแต่งตั้งนายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษา 19 แห่ง มีการเสนอรายชื่อบางส่วนมาให้พิจารณาแล้ว ตนและนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการได้พิจารณาร่วมกันแล้ว และเห็นว่าหลายคนก็มีความพร้อมและเหมาะสม เพราะมีประสบการณ์และคุณวุฒิจึงน่าจะเป็นผู้ที่นำพาสถาบันการอาชีวศึกษาให้ พัฒนาไปได้ในช่วงแรกๆของการเปิดการเรียนการสอน โดยตนจะทยอยแต่งตั้งตามรายชื่อที่เสนอมาให้พิจารณา ส่วนนายกสภาฯที่เหลือยังไม่ได้แต่งตั้งนั้นเนื่องจากตอนนี้ยังอยู่ระหว่าง การแต่งตั้งคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) ชุดใหม่ ดังนั้น คณะกรรมการ กอศ.ชุดใหม่ที่เข้ามาจะมีหน้าที่ในการพิจารณานายกสภาฯที่เหลือด้วย ทั้งนี้ หากสถาบันการอาชีวศึกษาแห่งใดยังไม่ได้มีการแต่งตั้งนายกสภาฯคณะกรรมการ กอศ.ชุดใหม่สามารถเสนอรายชื่อมาให้ตนพิจารณาแต่งตั้งได้ แต่สถาบันการอาชีวศึกษาไหนตั้งแล้วก็คงไม่ต้องเสนอมา
          นายพงศ์เทพกล่าวด้วยว่า แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีบอร์ด กอศ.ชุดใหม่ก็คงไม่มีปัญหาอะไรกับสถาบันการอาชีวศึกษา เพราะกลไกในการเตรียมเรื่องอื่นๆสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาก็ทำไว้ อยู่แล้ว ทั้งข้อบังคับระเบียบสถาบัน ทำเตรียมไว้ให้แล้วเพียงแต่บอร์ด กอศ.มาช่วยดูว่าจะปรับ จะแก้อย่างไร แต่ไม่ใช่ว่าจะมาเขียนยกร่างเองหมด คิดว่าทั้งหมดนี้จะทันเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีของสถาบันการ อาชีวศึกษาในปีนี้แน่นอน.

          ที่มา: http://www.thairath.co.th

6 ปัญหา ครูไทย


          เนื่องในโอกาสวันครูแห่งชาติ 16 มกราคมที่ผ่านมา สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้สำรวจความเห็นของครูสอนดี จำนวน 210 คน กลุ่มตัวอย่างกระจายใน 4 ภูมิภาคของประเทศ เพื่อสอบถามถึงปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการทำหน้าที่ครูและแนวทางการส่งเสริม ครูให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น ดร.รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์ นักวิชาการยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนรู้ บอกว่า จากผลการสำรวจพบ 6 ปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรค ประกอบด้วย 1) ภาระหนักนอกเหนือจากการสอน 22.93% 2) จำนวนครูไม่เพียงพอ สอนไม่ตรงกับวุฒิ 18.57% 3) ขาดทักษะด้านไอซีที 16.8% 4) ครูรุ่นใหม่ ขาดจิตวิญญาณ ขณะที่ครูรุ่นเก่าไม่ปรับตัว 16.49% 5) ครูสอนหนัก ส่งผลให้เด็กเรียนมากขึ้น 14.33% และ 6) ขาดอิสระในการจัดการเรียนการสอน 10.88% สำหรับปัจจัยส่งเสริมการทำหน้าที่ของครูให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น พบว่า อันดับ 1 คือ การอบรม แลกเปลี่ยน และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ 19.32%, การพัฒนาตนเองในเรื่องไอซีที 19%, การเพิ่มฝ่ายธุรการ 18.01%, ปรับการประเมินวิทยฐานะ 17.12%, การลดชั่วโมงการเรียนการสอนของครูและการเรียนของเด็ก 13.42% และการปลดล็อกโรงเรียนขนาดเล็ก 13.13% จะเห็นได้ว่า ปัจจัยฉุดรั้งการทำงานของครูไทยมีทั้งปัจจัยที่มาจากครูผู้สอน และปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยส่งเสริมที่ครูต้องการพบว่า 39% เป็นปัจจัยเพื่อการพัฒนากระบวนการสอนเพื่อถ่ายทอดความรู้แก่ศิษย์ให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงสะท้อนให้ถึงจิตวิญญาณของความเป็นครู นพ.วิจารณ์ พานิช ผู้ทรงคุณวุฒิ สสค. กล่าวว่า การสอนของครูในปัจจุบันพบว่า เกือบ 100% ยังถ่ายทอดความรู้แบบสอนวิชา ส่งผลให้เด็กมีคุณสมบัติที่น่ากลัวที่สุด คือ ขาดภาวะผู้นำ เด็กจะมีทักษะความเป็นผู้นำได้ก็ต่อเมื่อมีความมั่นใจในตัวเอง มีความคิดเป็นของตัวเอง วิธีการเรียนรู้ของเด็กในยุคใหม่จึงต้องเรียนโดยลงมือทำ ฝึกให้ปฏิบัติจริงและมีการแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น แต่ไม่ควรปล่อยให้เด็กเรียนเอง ครูต้องออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็ก สามารถประเมินลูกศิษย์แต่ละคนได้ว่ามีพื้นความรู้เพียงใด เพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และประเมินความก้าวหน้าของเด็กแต่ละกลุ่มเป็น ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวถึงบทบาทครูไทยยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ว่า ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้อำนวยความรู้ ปัจจุบันเริ่มมีการพูดถึงทักษะของเด็กในศตวรรษที่ 21 แต่ยังไม่มีคู่มือประกอบแนวทางการพัฒนาทักษะครูให้พร้อมต่อการเรียนการสอนใน ยุคสมัยใหม่ ครูไทยจำนวนมากจึงเหมือนถูกปล่อยอยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ของสังคมโลก แนวทางในการพัฒนาทักษะครูไทยในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยทักษะ 7 ด้าน ได้แก่ 1.ทักษะในการตั้งคำถาม เพื่อช่วยให้ศิษย์กำหนดรู้เป้าหมายและคิดได้ด้วยตนเอง 2.ทักษะที่สอนให้เด็กหาความรู้ได้ด้วยตัวเองและด้วยการลงมือปฏิบัติ 3.ทักษะในการคัดเลือกความรู้ ตามสภาพแวดล้อมจริง 4.ทักษะในการสร้างความรู้ ใช้เกณฑ์การทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องอย่างไร เพื่อทำให้ศิษย์เกิดความเข้าใจอย่างชัดแจ้ง 5.ทักษะให้ศิษย์คิดเป็น หรือตกผลึกทางความคิด 6.ทักษะในการประยุกต์ใช้ และ 7.ทักษะในการประเมินผล
          ครูยุคใหม่จำเป็นต้องมีทักษะทั้ง 7 ด้านในการเป็นผู้อำนวยความรู้ให้เด็ก แทนที่ จะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เหมือนก่อน



          --มติชน ฉบับวันที่ 22 ม.ค. 2556 (กรอบบ่าย)--

แก้ปัญหาคุณภาพการศึกษา : ต้องเป็นวาระแห่งชาติ

          กลิ่น สระทองเนียม          ครั้งที่ผ่านมาผู้เขียนได้สะท้อนถึงปัญหาความตกต่ำคุณภาพการศึกษาของเด็ก ไทย.น่าจะโทษใครดี และท้ายที่สุดได้สรุปไว้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นต้องเป็นความรับผิดชอบของทุกภาคส่วนเมื่อเป็นเช่นนี้จึง เป็นหน้าที่ที่จะต้องมาร่วมกันแก้ไขเพื่อทำให้คุณภาพเด็กไทยดีขึ้น แต่ด้วยงานนี้เป็นงานที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติ เป็นงานใหญ่เห็นผลช้า การที่จะไปแยกกันคิด แยกกันทำ หรือทำแบบเรื่อย ๆ มาเรียงคงไม่ได้ เพราะแค่นี้ก็แทบจะไม่มีคลองให้ถอยหลังลงไปอีกแล้ว ซึ่งการที่จะแก้ปัญหาคุณภาพเด็กให้ได้ผลนั้น จึงน่าจะต้องกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ร่วมทำกันอย่างจริงจังปัญหาที่ว่านี้ก็น่าจะมีทางออกอยู่มากมายซึ่งทางออก ที่ว่านี้คงจะขอนำมายกตัวอย่างให้เห็นเพียงบางส่วน ดังนี้
          ระดับชาติ น่าจะต้องแก้กฎหมายการศึกษากันอีกครั้ง เพื่อปรับส่วนที่เป็นได้แค่หลักการสวยหรูแต่ปฏิบัติไม่ได้ผลออกไปแล้วนำสิ่ง ที่จะส่งผลถึงตัวเด็กจริง ๆ เข้ามาแทน โดยเฉพาะการนำกรมวิชาการกลับคืนมาเพราะถือเป็นหัวใจด้านวิชาการของชาติ ที่จะทำหน้าที่วิเคราะห์ วิจัยสาระเนื้อหา วิธีการพัฒนาอย่างเป็นระบบตลอดแนว ดีกว่าปล่อยให้หน่วยงานอื่นที่มีแต่หลักการแต่ไม่รู้ลึกรู้จริงถึงบริบทการ จัดการศึกษามาตรวจสอบแล้วโยนปัญหากลับมาให้เช่นเดิม รวมถึงออกกฎหมายบังคับให้ทุกภาคส่วนที่มีหน้าที่จัดการศึกษาทั้งภาครัฐและ เอกชนต้องคำนึงถึงคุณภาพผู้เรียนตามกฎหมายและแผนการศึกษาชาติที่กำหนดไว้ เพื่อมิให้จัดการศึกษาไปคนละทิศละทางหรือเปลี่ยนแปลงตามรัฐบาล ส่วนต่อมา คือ งบประมาณที่ใช้พัฒนาคุณภาพเด็กต้องจัดให้พอเพียงเพราะปัจจุบันงบประมาณส่วน ใหญ่ถูกนำไปเป็นค่าจ้าง เงินเดือน มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ เงินที่ใช้พัฒนาคุณภาพถึงตัวเด็กจริง ๆ มีน้อยมาก โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กที่ได้รับงบประมาณน้อยตามจำนวนเด็กและโอกาสที่จะ ได้รับการสนับสนุนจากภายนอกก็เป็นไปได้ยากการจัดสรรงบประมาณจึงน่าจะจัดให้ เพียงพอและถูกจุดโดยเน้นไปที่โรงเรียนขาดแคลนเป็นหลักไม่ใช่หว่านแหจ่ายเป็น ค่ารายหัวเหมือนกันทุกโรงเรียน มิฉะนั้นแล้วคุณภาพเด็กจากโรงเรียนขนาดเล็กก็คงแก้ไขได้ยาก
          ระดับกระทรวงศึกษาธิการ สิ่งแรกเลยที่ต้องแก้ไข คือ ไม่ควรเปลี่ยนรัฐมนตรีกันบ่อย เพราะจะทำให้เกิดนโยบายใหม่ เลิกนโยบายเก่า ขาดความต่อเนื่องรวมถึงสร้างความสับสนให้กับภาคปฏิบัติอีกด้วย เรื่องต่อมา คือ หลักสูตรการศึกษาที่นอกจากจะต้องลดจำนวนสาระการเรียนรู้ที่ไม่จำเป็นแต่ละ ระดับลงแล้วยังต้องสอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กในแต่ละกลุ่ม เพราะหากหลักสูตรมีเป้าหมายเดียวกันคือหวังให้เด็กไปสู่ความเป็นเลิศทั้งหมด ปัญหาก็อย่างที่เห็นกันอยู่ คือกลุ่มหนึ่งยังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่ต้องเรียนทุกกลุ่มสาระแต่เมื่อพื้นฐานยังไม่ได้การเรียนรู้สาระอื่น ๆ ก็ด้อยไปด้วยเมื่อเรียนไม่ทันเพื่อน เรียนไม่รู้เรื่อง ความเครียดก็เกิดขึ้น หากหลักสูตรสามารถตอบสนองเป้าหมายแต่ละกลุ่มได้ก็จะทำให้การจัดการศึกษา สะดวกเกิดผลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น วิธีการที่ว่านี้หลักสูตรจึงน่าจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม  คือ กลุ่มเด็กที่มีศักยภาพสูงพร้อมที่จะต่อยอดไปสู่ความเป็นเลิศในสาขาเฉพาะทาง กลุ่มเด็กที่ต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พ้นวงจร โง่ จน เจ็บ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในท้องถิ่นได้อย่างมีความสุข และกลุ่มสุดท้าย คือ เด็กในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่พิเศษ ที่ยังต้องพัฒนาด้านการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็นการสร้างสุขนิสัยที่ดีต่อการดำเนินชีวิต และควรเปลี่ยนระบบการวัดผลจากตกซ่อมได้มาเป็นสอบได้สอบตกเช่นเดิมเพื่อจะทำ ให้ฐานความรู้เด็กแน่นขึ้นและเด็กเกิดความกระตือรือร้นกับการเรียนรู้มาก ขึ้น ส่วนต่อมาคือ เป้าหมายคุณภาพการศึกษาของชาติจะต้องมีความชัดเจนและทุกฝ่ายต้องปฏิบัติตาม เพื่อไม่ให้เกิดการบิดเบี้ยวกลางทางตามกระแสความนิยมอย่างที่เป็นอยู่ เพราะแม้กฎหมายจะกำหนดไว้ว่า ต้องการให้เด็กเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ "ดี เก่ง มีความสุข" แต่ทำไปทำมา ทำท่าจะใช้ผลการสอบ O-NET เป็นเป้าหมายคุณภาพเด็กไทยไปแล้ว ทั้งที่ไม่ได้สอบทุกชั้นทุกกลุ่มสาระและจำนวนข้อสอบแต่ละวิชาก็มีไม่กี่ข้อ ที่สำคัญข้อสอบที่ว่านี้ก็ไม่สามารถวัดผลพัฒนาการทางด้านอื่น ๆ ได้ ยิ่งให้นำผลไปเกี่ยวข้องกับการประเมินวิทยฐานะของครู การประเมินของ สมศ. ด้วยแล้วทำให้โรงเรียนหลายแห่งเกิดการสอนข้อสอบ O-NET เกิดขึ้น อีกปัญหาหนึ่ง ก็คือ เจตคติการเรียนรู้ของเด็กและผู้ปกครองที่มุ่งหวังแค่การเข้ามหาวิทยาลัยจึง ใส่ใจอยู่แค่เนื้อหาวิชาการโดยไม่สนใจคุณภาพด้านอื่น ดังนั้นการรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ควรนำคุณภาพด้านอื่นมาเป็นเกณฑ์ตัดสินด้วย
          ระดับหน่วยเหนือ คงจะต้องปรับกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับกฎหมายโดยทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ติดตาม กำกับและประเมินผล มากกว่าจะมาเป็นผู้ปฏิบัติเสียเอง เพราะการที่ไปคิดวิธีการแก้ปัญหาหรือพัฒนาด้วยการจัดโครงการ กิจกรรม ส่งไปให้แต่ละพื้นที่ที่มีบริบทต่างกันต้องทำเหมือนกันทั้งหมดนั้น คงได้ผลน้อยแถมยังไปเพิ่มภาระให้กับครู ส่วนนี้จึงน่าจะส่งเงินไปให้โรงเรียนเป็นผู้คิดดำเนินการเองจะได้ผลมากกว่า สิ่งที่ต้องแก้ไขต่อมาคือ ต้องจัดครูให้พอสอนครบชั้นกับโรงเรียนขนาดเล็ก และให้พอสอนทุกวิชากับโรงเรียนขนาดใหญ่เพราะหากปล่อยให้ครูขาดแคลนแถมมีงาน อื่นให้ทำอีกมากมายอยู่เช่นนี้คงจะเรียกร้องหาคุณภาพได้ยาก ส่วนเรื่องคุณภาพครูก็น่าจะมีวิธีการที่ดีกว่าการจัดอบรมหรือให้ทำข้อสอบ เพราะการที่ครูขาดคุณภาพนั้นคงไม่ใช่อยู่แค่ความรู้อย่างเดียว ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการเหนื่อยล้ากับงานอื่น ๆ หรือมีปัญหาสุขภาพอีกส่วนหนึ่งอาจได้คนที่ไม่มีใจรักอาชีพครูมาเป็นครู ทำให้ขาดอุดมการณ์ในการทำงานวิธีแก้ปัญหาที่น่าจะได้ผลก็คือการสร้างขวัญ กำลังใจทั้งความก้าวหน้าในวิชาชีพและมีรายได้ที่เหมาะสมกับภาระงานที่สอน เกินเวลา สอนซ่อมเสริม หรือสอนอยู่โรงเรียนที่ครูขาดแคลนหรือในพื้นที่พิเศษต่าง ๆ รวมถึงการหาคนเก่งในพื้นที่มาเรียนครู แล้วส่งกลับไปสอนในท้องถิ่นของตนเอง อย่างเช่นโครงการเพชรในตม หรือโครงการคุรุทายาท ที่เคยทำได้ผลมาในอดีต
          ส่วนระดับภาคปฏิบัติคือ ครูก็คงต้องปฏิรูปตนเองด้วยการปรับตัว ปรับใจ ปรับความเชื่อมั่นเปิดใจกว้างยอมรับการพัฒนาให้เท่าทันกับวิทยาการและ เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อจะได้มีภูมิความรู้เพียงพอกับการเป็นผู้ให้ รวมถึงการปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนให้เข้ากับยุคสมัย เพราะวิธีการสอนแบบเดิม ๆ โดยครูเป็นผู้บอกหรือเล่าเนื้อหาอย่างที่เคยใช้ได้ผลมาในอดีตนั้น เมื่อถึงยุคที่เด็กมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปตามกระแสวัฒนธรรมและเทคโนโลยีสมัย ใหม่นี้การที่จะทำให้เด็กเป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข ได้นั้นวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คงต้องหลากหลายและเหมาะสม ที่สำคัญต้องเป็นครูมืออาชีพจริง ๆ ถึงจะทำให้งานหนักงานยากนี้เกิดผลได้ นอกจากนั้นหน่วยงานภาครัฐทั้งหลายก็คงต้องทำหน้าที่ในส่วนที่รับผิดชอบอยู่ ทั้งการแก้ปัญหาความยากจน ปัญหาทุพโภชนาการ ปัญหาอบายมุขต่าง ๆ อย่างเต็มที่ ไม่ใช่โยนมาเป็นงานฝากให้โรงเรียนทำแทนแบบไร้งบประมาณอย่างทุกวันนี้ยิ่งไป เพิ่มภาระงานรองให้มากกว่างานหลักยิ่งขึ้น
          คุณภาพเด็กไทยที่ตกต่ำทั้งด้าน IQ, EQ,  MQ, AQ นี้ก็มาจากหลากหลายปัจจัยดังนั้นการแก้ไขและพัฒนาจึงต้องเกิดจากความร่วมมือ ของทุกภาคส่วนที่ต้องทำกันอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพราะคุณภาพบุคลากรเป็น เรื่องสำคัญต่อประเทศชาติ ทุกฝ่ายจึงต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกมากกว่าจะมัวไปยุ่งอยู่กับเรื่อง เศรษฐกิจ การเมือง จนลืมดูแลคุณภาพบุคลากรของชาติไป เพราะหากเด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติมีคุณภาพต่ำการที่จะอยู่ในสังคมโลกที่มี การแข่งขันสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่นนี้คงเป็นไปด้วยความลำบาก ในที่สุดก็จะแข่งขันสู้กับใครไม่ได้กลายเป็นประเทศด้อยพัฒนาไปในที่สุด เพราะทุกวันนี้ก็เห็นเค้าลางแล้วเพราะแม้แต่อาเซียนเราก็เริ่มล้าหลังไปแล้ว มิใช่หรือ.

          --เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 22 ม.ค. 2556 (กรอบบ่าย)--

ศธ.ปลื้ม เงินช่วยเหลือครูใต้ทะลุเป้า เล็งรัฐวิสาหกิจและบริษัทใหญ่ ร่วมลงขัน

          นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยตัวเลข เงินบริจาคช่วยครูใต้ ว่า ตามที่ ศธ.จัดทำโครงการช่วยเหลือครูใต้ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อระดมเงินในการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือครู ชายแดนใต้ ที่ถูกทำร้ายจนทุพพลภาพและช่วยเหลือครอบครัวครูใต้ที่เสียชีวิตไปแล้ว 157 คน ซึ่งในวันครู วันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา ศธ.ได้จัดรายการ “ร้อยดวงใจ แด่ครูชายแดนใต้” ถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี หรือช่อง 9 เพื่อรับบริจาคเงินเข้ากองทุน ซึ่งมียอดเงินบริจาคผ่านรายการดังกล่าวได้ถึง จำนวน 25 ล้านบาท จากเดิมตั้งเป้าไว้ที่20 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเปิดตัวที่ดีสำหรับโครงการช่วยเหลือครูใต้
          ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ศธ.ตั้งเป้าต้องการระดมเงินให้ได้ 200 ล้านบาท เพราะฉะนั้น กลุ่มเป้าหมายต่อไปที่ ศธ.จะประสานขอความร่วมมือเพื่อบริจาค คือ กลุ่มบริษัทรัฐวิสากิจขนาดใหญ่ เช่น บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รวมถึงบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ด้วย โดยเร็วๆ นี้ ศธ.จะหารือและทำหนังสือประสานไปยังรัฐวิสาหกิจที่พร้อมจะร่วมบริจาคเพื่อขอ ให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาในบอร์ดเพราะหากเป็นการอนุมัติจากบอร์ดแล้วจะ ได้เงินบริจาคก้อนใหญ่กว่าการขอบริจาคตามปกติ ทั้งนี้ องค์กรเหล่านี้มักมีงบประมาณเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการกุศลหรือกิจกรรม CSR อยู่แล้วเบื้องต้น คาดว่าหากขอความร่วมมือ เช่น บ.ปตท. จำกัด (มหาชน) จะได้เงินไม่ต่ำกว่า10 ล้านบาท หรือสำนักงานสลากฯ ได้ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาทปลัด ศธ. กล่าวต่อว่า ศธ.จะทำโครงการช่วยเหลือครูใต้ ให้เป็นโครงการระยะยาวเพื่อให้ช่วยเหลือครูใต้และทายาทครูใต้ได้อย่างต่อ เนื่อง เพราะฉะนั้น ศธ.จะรณรงค์โครงการ “บริจาคเดือนละ 1 บาท เพื่อครูใต้” ซึ่งจะนำกล่องรับบริจาคไปวางไว้ที่สถานศึกษาทุกแห่ง ซึ่งปัจจุบันเรามีนักเรียนอนุบาล-มัธยมในสังกัด ศธ. จำนวน 12 ล้าน นิสิต-นักศึกษามหาวิทยาลัย 3 ล้านคน นักศึกษาอาชีวศึกษา 7 แสนคน ครูและบุคลากรทางการศึกษารวม 8 แสนคน ซึ่งยังไม่นับรวมโรงเรียนเอกชนในสังกัด 1.3 หมื่นโรงซึ่งมีโรงเรียนขนาดใหญ่อยู่จำนวนมาก เพราะฉะนั้น มั่นใจว่าเงินรับบริจาคที่จะได้มาน่าจะได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 15 ล้านบาทขณะเดียวกัน ศธ.จะตั้งกล่องรับบริจาคตามสถานที่สาธารณะต่างๆ ด้วย เช่น ศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ สนามบิน ฯลฯ อีกด้วย

          ที่มา: http://www.naewna.com

ศธ.ส่งหนังสือเวียน"ทรงผม น.ร."ถึงร.ร.ทั่วปท."พงศ์เทพ"ลั่นบังคับไว้เกรียนไม่ได้

        นาย พงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ลงนามในหนังสือเวียนของ ศธ.เกี่ยวกับเรื่องทรงผมนักเรียนเพื่อแจ้งเวียนไปหน่วยงานต้นสังกัดที่มี สถานศึกษาเพื่อให้มีการแจ้งเวียนไปยังโรงเรียนในสังกัด ศธ.ทั่วประเทศได้รับทราบและถือปฏิบัติ


        หลักการของหนังสือเวียนได้ชี้ให้เห็นว่าว่ากฎกระทรวงฉบับที่ 1 พ.ศ.2515 ที่กำหนดเรื่องของทรงผมนักเรียนเอาไว้ แต่ว่าในปี พ.ศ.2518 ได้มีกฎกระทรวงฉบับที่ 2 ออกมาให้นักเรียนชายไว้ผม ยาวไม่เกินตีนผม นักเรียนหญิงสามารถไว้ผมยาวแต่ต้องรวบให้เรียบร้อย ฉะนั้น กฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือกฎกระทรวงปี พ.ศ.2518 และต่อมาก็มี พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กออกมายกเลิกประกาศคณะปฏิวัติแต่ยังให้กฎกระทรวง พ.ศ.2518 เรื่องทรงผมใช้บังคับอยู่ ดังนั้น ต้องทำความเข้าใจให้โรงเรียนได้เข้าใจ

        "จะมีผลใช้บังคับเลยเมื่อหนังสือเวียนออกไป แต่จริงๆ แล้วกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้มานานแล้วเพียงแต่โรงเรียนไปเข้าใจ ผิดเท่านั้น หนังสือเวียนออกไปแล้วต่อไปโรงเรียนจะไปบังคับนักเรียนไม่ได้ว่าจะต้องไว้ผมทรงเกรียน หรือผมสั้น การที่โรงเรียนจะออกกฎอะไรใช้บังคับคนต้องมีเหตุผลไม่ใช่ออกตามใจเราที่เป็นผู้ออกกฎ" รัฐมนตรีว่าการ ศธ.กล่าว และว่า โรงเรียนจะต้องปฏิบัติตามหนังสือเวียนที่ ศธ.แจ้งไปและหากนักเรียนคนใดที่ยังถูกโรงเรียนบังคับอยู่ก็สามารถแจ้งข้อมูลมายัง ศธ. คาดว่าอาจต้องใช้เวลากว่าหนังสือเวียนจะแจ้งถึงโรงเรียนทั่วประเทศเพราะมีโรงเรียนอยู่จำนวนมาก

ที่มา : มติชน

สอบผู้ช่วยครู เขต 19 สมัคร 58 คนขาดสอบ 13 คน ต้องการ 7 ตำแหน่ง

          นายสมเจษฎ์ ศรีสมจักร์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 เปิดเผยว่า การดำเนินการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่ง ครูผู้ช่วย กรณีพิเศษหรือมีเหตุจำเป็น จำนวน 7 อัตรา ณ ศูนย์สอบโรงเรียนเลยพิทยาคม จังหวัดเลย ที่ผ่านมาและจะประกาศผลการสอบ คัดเลือกภายในวันที่ 28 มกราคม 2556 นั้น เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยมีผู้มาสมัคร สอบคัดเลือกทั้งสิ้น จำนวน 58 คน ขาดสอบ 13 คน แบ่งเป็น 7 กลุ่มสาขาวิชาเอกดังนี้ กลุ่มสาขาวิชาภาษาไทย สมัครสอบ 6 คน ขาดสอบ 2 คน กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป สมัครสอบ 13 คน ขาดสอบ 3 คน กลุ่มสาขาวิชาภาษาอังกฤษ สมัครสอบ 8 คน ขาดสอบ 3 คน กลุ่มสาขาวิชาฟิสิกส์ สมัครสอบ 9 คน ขาดสอบ 1 คน กลุ่มสาขาวิชาคณิตศาสตร์ สมัครสอบ 7 คน ขาดสอบ 1 คน กลุ่มสาขาวิชานาฏศิลป์ สมัครสอบ 8 คน ขาดสอบ 2 คน และกลุ่มสาขาวิชาเกษตรกรรมสมัครสอบ 7 คน ขาดสอบ 1 คน
          นายสมเจษฎ์ กล่าวอีกว่า ได้มีมติ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 ให้เรียกบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรณีสอบแข่งขันได้ที่ขึ้นบัญชีไว้ จำนวน 15 อัตรา ประกอบด้วย วิชาเอกภาษาไทย 5 อัตรา (ลำดับที่ 12-16) วิชาเอกสังคมศึกษา 2 อัตรา (ลำดับที่ 27-28) วิชาเอกชีววิทยา 1 อัตรา (ลำดับที่ 18) วิชาเอกภาษาอังกฤษ 2 อัตรา(ลำดับที่ 9-10) วิชาเอกคอมพิวเตอร์ 1 อัตรา(ลำดับที่ 17) วิชาเอก เคมี 1 อัตรา (ลำดับที่ 8) วิชาเอกภาษาจีน 1 อัตรา (ลำดับที่ 3) และวิชาเอกอุตสาหกรรม 2 อัตรา (ลำดับที่ 10-11) โดยให้เตรียมเอกสารที่ใช้ในการรายงานตัวให้พร้อมเพื่อรับการบรรจุและแต่ง ตั้งในวันที่ 31 มกราคม 2556 เวลา 8.30-12.00 น. หรือสอบถามเพิ่มเติมที่กลุ่มบริหารงานบุคคล โทรศัพท์ 042-811464 ต่อ 19

 
          ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า

เทศบาลนครแม่สอด เปิดรับสมัครสอบแข่งขัน ตำแหน่งครูผู้ช่วย จำนวน 28 อัตรา 17 สาขาวิชาเอก

        ด้วยเทศบาลนครแม่สอด จังหวัดตาก มีความประสงค์จะรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงาน ครูเทศบาล ตำแหน่งครูผู้ช่วย จำนวน 28 อัตรา 17 สาขาวิชาเอก ดังนี้


รับสมัคร ระหว่างวันที่ 28 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2556 ในวันและเวลาราชการ ณ อาคารเอนกประสงค์ โรงเรียนเทศบาลวัดดอนแก้ว เทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

รายละเอียดเพิ่มเติม
http://www.nakhonmaesotcity.go.th/administrator/PhpObject/modules/jobnews/upload/files/011313-2.pdf 

เทศบาลนครระยอง เปิดรับสมัครครูผู้ช่วย จำนวน 7 อัตรา 6 สาขาวิชาเอก

        ด้วยเทศบาลนครระยอง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง มีความประสงค์จะรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานครูเทศบาล ตำแหน่งครูผู้ช่วย จำนวน 7 อัตรา 6 สาขาวิชาเอก ดังนี้

1. สาขาวิชาเอกคณิตศาสตร์           รหัส (01)   จำนวน 2 อัตรา
2. สาขาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัย     รหัส (02)   จำนวน 1 อัตรา
3. สาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษ          รหัส (03)   จำนวน 1 อัตรา
4. สาขาวิชาเอกวิทยาศาสตร์           รหัส (04)   จำนวน 1 อัตรา
5. สาขาวิชาเอกคอมพิวเตอร์          รหัส (05)   จำนวน 1 อัตรา
6. สาขาวิชาเอกภาษาไทย             รหัส (06)   จำนวน 1 อัตรา

รับสมัครระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 20 กุมภาพันธ์ 2556 ในวันและเวลาราชการ ณ ศาลาประชาคม เทศบาลนครระยอง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

ติตต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 038-620111 ต่อ 726

รายละเอียดเพิ่มเติม
http://115.31.176.163/picupload/news/wkag3zyx.pdf

ความคืบหน้าล่าสุด!!! การสอบครูผู้ช่วยของ อบจ.ศรีสะเกษ

          ความคืบหน้าล่าสุด การสอบครูผู้ช่วย อบจ.ศรีสะเกษ เมื่อวานนี้ ท่านรองนายกฯ อบจ.ศรีสะเกษ ได้กล่าวถึงการสอบของครูผู้ช่วย อบจ.ศรีสะเกษ ว่าทาง อบจ. ได้ประสานไปยังมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และทางราชภัฏก็จะแต่งตั้งคณะกรรม ออกข้อสอบ ในวันที่ 22 มกราคม 2556 นี้นะครับ แต่ยังไม่ได้บอกว่าจะเปิดสอบวันไหน แต่คงอีกไม่นานนี้ครับ...(ขอบคุณข้อมูลจาก คุณ เด็กศิลป์ ถิ่นเมืองเกินร้อย เพื่อนสมาชิกกลุ่มสอบบรรจุครูฯ)

สพป.ตาก เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 30 อัตรา 6 กลุ่มวิชา

       สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 เรียกบรรจุผู้สอบแข่งขันได้ ตำแหน่งครูผู้ช่วย โดยให้ไปรายงานตัว ในวันที่ 28 มกราคม 2556 เวลา 08.00-09.00 น. ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานเขตพื้นที่กรศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2
       ซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาตาก เขต 2 มีอัตราว่างที่จะดำเนินการบรรจุและแต่งตั้ง จำนวน 30 อัตรา 6 กลุ่มวิชา ดังต่อไปนี้


1. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์         จำนวน   5 อัตรา     ลำดับที่ 59-63
2. กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์         จำนวน   3 อัตรา     ลำดับที่ 41, 45 - 46
3. กลุ่มวิชาประถมศึกษา         จำนวน 17 อัตรา     ลำดับที่ 176, 178, 180 - 194
4. กลุ่มวิชาปฐมวัยศึกษา        จำนวน  2 อัตรา      ลำดับที่ 73 - 74
5. กลุ่มวิชาพลศึกษา             จำนวน  1 อัตรา      ลำดับที่ 7
6. กลุ่มวิชาอุตสาหกรรมศิลป์   จำนวน 2 อัตรา       ลำดับที่ 10 -11

สพป.เชียงราย เขต 3 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 5 อัตรา 4 กลุ่มวิชา

       สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 เรียกบรรจุผู้สอบแข่งขันได้ ตำแหน่งครูผู้ช่วย โดยให้ไปรายงานตัว ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09.00 น. ณ กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่กรศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
       ซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 มีอัตราว่างที่จะดำเนินการบรรจุและแต่งตั้ง จำนวน 5 อัตรา 4 กลุ่มวิชา ดังต่อไปนี้


1.วิชาเอกพลศึกษา      จำนวน 1 อัตรา คือ  ลำดับที่ 17 
2.วิชาเอกปฐมวัย        จำนวน 2 อัตรา คือ  ลำดับที่ 26,28 
3.วิชาเอกสังคมศึกษา   จำนวน 1 อัตรา คือ  ลำดับที่ 35 
4.วิชาเอกวิทยาศาสตร์  จำนวน 1 อัตรา คือ  ลำดับที่ 47

รายละเอียดเพิ่มเติม

http://www.cr3.go.th/cr3/information/file/15-01-2013-00-21-25200%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B8.pdf 

แสดงความคิดเห็น